สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 13-19 มีนาคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,928 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,013 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,549 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,545 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.86
 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,025 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,732 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,035 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,349 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 383 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 510 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,286 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 491 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,346 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.86 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 940 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 489 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,616 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 476 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,877 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 739 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,701 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,252 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,449 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.9337
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ผวาโควิด-19 ระบาดหนัก ส่งออกไทยส้มหล่น ทั่วโลกแห่ตุนอาหาร
ผวาไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก ทั่วโลกแห่ตุนอาหาร-ยา-เวชภัณฑ์ บิ๊กธุรกิจ ศรีตรัง-ทียู-เอเซียโกลเด้นไรซ์
รับอานิสงส์ กวาดออร์เดอร์ลูกค้าทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย เผยถุงมือยาง-อาหารกระป๋อง-ข้าว ยอดพุ่ง ปรับแผนเน้นทำตลาดออนไลน์รับมือสถานการณ์วิกฤต ด้านทูตพาณิชย์ประเมินสถานการณ์ส่งออกข้าวไตรมาส 2 กระเตื้อง
คาดส่งออกทั้งปีขยายตัวร้อยละ 3
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกยังลามไม่หยุด ล่าสุด ณ วันที่ 9 มีนาคม 2563 พบผู้ป่วยเกินกว่า 1.1 แสนคน ใน 107 ประเทศ โดยเฉพาะอิตาลีได้มีประกาศขยายมาตรการรับมือวิกฤตด้วยการสั่งปิดประเทศถึงวันที่
3 เมษายน 2563 พร้อมทั้งขอให้ประชาชนกักตัวอยู่ในบ้าน ขณะที่สเปนอยู่ระหว่างการหารือถึงมาตรการป้องกัน แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา การแพร่ระบาดก็เริ่มทวีความรุนแรงในหลายรัฐ ส่งผลให้ประชาชนทั่วโลกพากันตื่นตระหนก เริ่มซื้ออาหารกักตุน ขณะเดียวกันก็หาซื้อยา เวชภัณฑ์ และสินค้าจำเป็นไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป หรือ TU เปิดเผยกับประชาชาติธุรกิจว่า การระบาดของโควิด-19 ที่แพร่ไปทั่วโลก ทำให้ประชาชนต้องการสำรองอาหารไว้รับประทานภายในบ้านมากขึ้น
ที่เห็นชัดเจน คือ อิตาลี และสหรัฐอเมริกา แม้คนจำนวนมากยังออกมาดำเนินชีวิตตามปกติ แต่การซื้ออาหารกระป๋องไปสต็อกไว้มีมากขึ้น ส่งผลให้ TU ซึ่งผลิตและส่งออกสินค้าปลากระป๋อง แบรนด์มาริบลู ไปจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป มียอดขายเพิ่มขึ้น
“อิตาลี เห็นผลมากว่าคนเริ่มซื้อของเก็บสต็อกมากขึ้น เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นมากๆ คือ อาหารกระป๋อง ส่วนอาหารแช่แข็งยังมีน้อย จึงต้องรอดูสถานการณ์อีกระยะ การปรับกลยุทธ์ช่วงนี้แน่นอนว่าต้องเพิ่มการทำการตลาดทางออนไลน์มากขึ้น อย่างเช่นก่อนหน้านี้ที่ทำตลาดกับทีมอลล์ในจีนซึ่งปัจจุบันนี้ยังทำต่อ”
นายธีรพงศ์กล่าวว่า ปัจจุบันโรงงานของ TU ทั่วโลกยังเปิดดำเนินการ แต่ได้กำหนดมาตรการป้องกันอย่าง เข้มงวด ห้ามพนักงานเดินทางไปประเทศเสี่ยง และมีมาตรการเฝ้าระวังในทุกสำนักงานของเราทั่วโลก ปรับกลยุทธ์
ด้วยการใช้ระบบ VDO conference สื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดว่าจะมีผล อย่างไรต่อธุรกิจบ้าง แต่คิดว่าคงไม่กระทบอุตสาหกรรมเรามากนัก เพราะธุรกิจอาหารยังมีความจำเป็น ขณะนี้ตลาด ส่งออก แบ่งเป็น อเมริกาเหนือร้อยละ 41 ยุโรปร้อยละ 28 ไทยร้อยละ 12 ส่วนตลาดอื่นๆ ซึ่งจะรวมตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาใต้ รวมเป็นร้อยละ 19
นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจอาหารแช่แข็งและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง TU กล่าวว่า สถานการณ์กุ้งและอาหารแช่เยือกแข็งไตรมาส 1 ปีนี้ ได้รับผลจากโรคระบาดที่จีนประกาศปิดประเทศตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่งผลให้การขนส่งทางเรือหยุดลงทั้งหมด การส่งออกไปตลาดจีนซึ่งตลาดดาวรุ่งของไทยคิดเป็นร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมของประเทศต้องหยุดชะงักไป แต่หวังว่าสถานการณ์ระบาดในจีนดีขึ้น เพราะอัตราการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าอัตราผู้ป่วยที่รักษาหาย แต่ยังต้องใช้เวลาฟื้นฟูอีกระยะ
“ผลจากการระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่อย่างเอกวาดอร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก
กับอินเดีย ส่งกุ้งเข้าไปจีนไม่ได้เพราะการขนส่งทางเรือหยุดหมด สินค้าจึงไหลไปอเมริกาและสหภาพยุโรป ส่งผลให้ ราคากุ้งปรับลดลง แต่ยังโชคดีเพราะเป็นจังหวะช่วงโลว์ซีซั่นของการผลิตจึงกระทบไม่มาก”
นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการบริหารและประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง บมจ.ศรีตรังแอโกร อินดัสทรี เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การระบาดของไวรัสโควิด ส่งผลดีต่อการส่งออกถุงมือยางของบริษัท
ช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ถือเป็นปัจจัยบวกที่เสริมเข้ามาช่วยเพิ่มความต้องการใช้ ไม่ใช่เฉพาะจีน แต่ตอนนี้มีลูกค้าใหม่
ทั้งในประเทศ เช่น กลุ่มบริษัท โรงแรม สายการบินต่างๆ และผู้นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ตะวันออกกลาง ติดต่อสั่งซื้อเข้ามาเป็นการด่วน ทำให้บริษัทต้องเพิ่มกำลังการผลิตเต็ม 100% หรือประมาณ 30,000-33,000 ล้านชิ้น/เดือน
โดยจะเน้นส่งมอบลูกค้ากลุ่มเดิมก่อนทยอยส่งมอบให้ลูกค้ากลุ่มใหม่ และต้องเตรียมสต็อกวัตถุดิบน้ำยางดิบ เพื่อผลิตถุงมือยางธรรมชาติให้เพียงพอกับความต้องการใช้ เพราะใกล้เข้าสู่ช่วงหยุดกรีดยางแล้ว”สถานการณ์โค วิด-19 ทำให้ตลาดถุงมือยางโลกคึกคักขึ้น ความต้องการค้าเพิ่มขึ้นจาก 3 แสนล้านชิ้น เป็น 3.3 แสนล้านชิ้น หรือขยายตัวเพิ่มร้อยละ 10 เราเป็นลำดับที่ 3 ของโลก ผลิตได้ 30,000 ล้านชิ้น/เดือน เมื่อเกิดโรคระบาด ความต้องการด้านการแพทย์เพิ่มขึ้นก่อน จากนั้นทุกอุตสาหกรรมก็ต้องการใช้ถุงมือยางเพิ่มขึ้น ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน บริษัททั่วๆ ไป”
นายวิทย์นาถ สินเจริญกุล Strategic Branding Executive บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) หรือ STGT กล่าวว่า ขณะนี้คำสั่งซื้อถุงมือยางต่อเนื่องไปถึงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากปีก่อนเดินเครื่องผลิต 16,000-18,000 ล้านชิ้น/เดือน คาดว่าปีนี้ยอดขายจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20
ด้านนายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธาน บจ.เอเซีย โกลเด้นไรซ์ ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ความต้องการข้าวในตลาดต่างๆ เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะตลาดฮ่องกง คาดว่าจะเพิ่มมากถึงร้อยละ 15 เพราะข้าวเป็นสินค้าจำเป็น เนื่องจากประชาชนถูกกักบริเวณให้ใช้ชีวิตในบ้าน ออกมาจับจ่ายได้ยาก ภัตตาคาร ร้านอาหารหยุดเกือบหมด จึงต้องซื้อข้าวไปสต็อก ทั้งนี้ ปกติข้าวจากไทยจะส่งไปจีนผ่านทางเสิ่นเจิ้นและกว่างโจว
เป็นหลัก ตอนนี้ยังสามารถส่งออกได้ ส่วนความต้องการนำเข้าข้าวจะมีมากขึ้นเพียงใด ต้องประเมินอีกระยะหนึ่ง
เพราะขณะนี้ไทยประสบปัญหาภัยแล้งผลผลิตลดลง
นางขวัญนภา ผิวนิล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา
กล่าวว่า การระบาดของไวรัสโควิดในสหรัฐเริ่มรุนแรงขึ้น ทำให้ประชาชนเริ่มแห่ซื้อสินค้าเก็บตุนมากขึ้น อาทิ อาหารกระป๋อง ข้าวสาร น้ำดื่ม ทิชชู อุปกรณ์ทำความสะอาด เจลล้างมือ ส่งผลให้ข้าวไทยที่ขายให้ห้างปรับราคาสูงขึ้นร้อยละ 15-20 และสต็อกเริ่มหมดแล้ว คาดว่าจะเห็นตัวเลขการส่งออกข้าวในไตรมาส 2 ปรับตัวดีขึ้น หากการขนส่งไม่มีปัญหา แต่ต้องระวังหากราคาสูงเกินไปผู้นำเข้าจะหันไปซื้อคู่แข่งแทน ประเมินว่าการส่งออกข้าวไปสหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 3
ส่วนตลาดอินเดีย นางสาวสายทอง สร้อยเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
ณ กรุงนิวเดลี ระบุว่า อินเดียประกาศระงับการส่งออกสินค้ายาและเวชภัณฑ์ และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ ชุดแว่นตา ยาสำเร็จรูป ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ให้มีเพียงพอใช้ในประเทศก่อน ส่วนหน้ากากอนามัยที่เคยระงับการส่งออก 1 เดือน ช่วงแรกที่ไวรัสระบาด ขณะนี้ส่งออกได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม อินเดียได้รับผลกระทบจากที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตยาร้อยละ 70 จากจีน ทั้งนี้ สำนักงาน ได้ปรับแผนทำตลาดโดยใช้อีคอมเมิร์ซช่วย เพราะอินเดียเน้นช่องทางออนไลน์ และกำลังเข้าสู่สังคมไร้เงินสดมากขึ้น โดยในเบื้องต้นประเมินว่าการส่งออกตลาดอินเดียจะขยายตัวร้อยละ 3
นายปณต บุณยะโหตระ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวว่า ขณะนี้หน้ากากอนามัย เจล และน้ำยาฆ่าเชื้อขาดตลาด แม้ทางการดูไบจะเข้มงวดเรื่องการกักตุน และเป็นที่
น่าสังเกตว่ายอดการสั่งซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้าอาหาร กัลฟ์ฟู้ด 2020 ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง
ที่จัดขึ้นในช่วงวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ มีออร์เดอร์จากผู้ส่งออกไทยมากขึ้นถึง 8,258 ล้านบาท
นอกจากนี้ ดูไบกำลังจะจัดงาน World Expo 2020 ช่วงเดือนตุลาคมนี้ คาดว่าความต้องการนำเข้าสินค้า
กลุ่มวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้าน ซึ่งเดิมเคยนำเข้าจากจีน แต่จีนประสบปัญหาโควิด จึงน่าจะเป็นโอกาสของ
สินค้าไทย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ​
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.45 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.07 บาท (สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงาน)
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 266.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,514 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 273.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,551 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.56 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 37 บาท 

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2562/63 มีปริมาณ 1,135.47 ล้านตัน ลดลงจาก 1,144.13 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 0.76 โดยสหภาพยุโรป และแคนาดา มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 173.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 171.92 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 0.92 โดยสหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย และแอฟริกาใต้ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เวียดนาม อิหร่าน อียิปต์ จีน โคลอมเบีย มาเลเซีย เปรูซาอุดีอาระเบีย โมร็อกโก ตุรกี ชิลี อิสราเอล บราซิล บังกลาเทศ กัวเตมาลา เคนยา สหรัฐอเมริกา และตูนิเซีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 361.08 เซนต์ (4,600 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 373.20 เซนต์ (4,653 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.25 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 53 บาท



 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.75 ล้านไร่ ผลผลิต 31.104 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.56 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 และร้อยละ 0.08 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.84 โดยเดือนมีนาคม2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.04 ล้านตัน (ร้อยละ 19.42 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.63 ล้านตัน (ร้อยละ 56.68 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
มันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้เปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำ และหัวมันสำปะหลังมีขนาดเล็ก ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังค่อนข้างทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.92 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.04
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.01 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.98 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.97 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.24
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,441 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,282 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,891 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,592 บาทต่อตัน)

 
 


ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.561 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.281 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.306 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.235 ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 19.53 และร้อยละ 19.57 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.84 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.29 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.51                                           
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.70 บาท ลดลงจาก กก.ละ 33.25 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.67  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ต่างประเทศ
ปัจจัยราคาน้ำมันดิบต่ำและการระบาดของโควิด-19 ที่กระทบความต้องการซื้อของอินเดียลดลง ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มลดลง โดยราคาน้ำมันปาล์มลดลงร้อยละ 1.3 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 และราคาน้ำมันดิบต่ำสุดในรอบ 18 ปี ขณะนี้ราคาส่วนต่างระหว่างน้ำมันปาล์มและน้ำมันดิบขยายมากขึ้น (ราคาน้ำมันปาล์ม>ราคาน้ำมันดิบ) ซึ่งอาจกระทบนโยบายการใช้น้ำมันปาล์มเป็นพลังงานทางเลือกของอินโดนีเซียและมาเลเซีย และกระทบความต้องการใช้ไบโอดีเซล การระบาดโควิด-19 ที่กระจายมากขึ้นจะส่งผลกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลก
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,311.55 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.43 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,320.15 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.37  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 596.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19.31 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 631.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.48    
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ 
          รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย และการผลิตน้ำตาลทรายประจำปีการผลิต 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 17 มีนาคม 2563 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 74,790,833 ตัน แยกเป็นอ้อยสด 37,611,345 ตัน (ร้อยละ 50.29) และอ้อยไฟไหม้ 37,179,488 ตัน (ร้อยละ 49.71) ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 8,261,164 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 6,260,549 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 2,000,615 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.68 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 110.46 กก.ต่อตันอ้อย

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.67 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 832.2 เซนต์ (9.89 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 868.44 เซนต์ (10.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.17
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 301.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.77 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 297.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 25.37 เซนต์ (18.09 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 27.34 เซนต์ (19.08 บาท/กก. ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.20


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.18 บาท ลดลงราคากิโลกรัมละ 25.62 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.99 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 992.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 876.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 895.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.14 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,002.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.00 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,024.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 592.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 605.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,435.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,468.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 15.92
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 20.75
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 57.76 เซนต์(กิโลกรัมละ 41.20 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 61.33 เซนต์ (กิโลกรัมละ 42.82 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.82 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.62 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,689 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,767 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.41
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,436 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,421 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.06
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 858 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 867 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.04


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนบางพื้นที่มีสภาพอากาศร้อน ทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  68.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 67.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.85 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.68 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา      
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.89


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ภาวะตลาดไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.42 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.22 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ลดลงจากตัวละ 15.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  6.45
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 273 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 302 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 273 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 266 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ลดลงจากตัวละ 28.00 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 7.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 281 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 337 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 334 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  


โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 92.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.05 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.20 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.34 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.79 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 13 – 19 มีนาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.36 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 87.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.03 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.47 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.83 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.91 บาท ราคา ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.29 บาท ราคา สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา